http://www.xn--72czpba5eubsa1bzfzgoe.ws/stalingrad-%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81.html
ยุทธการสตาลินกราด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการสตาลินกราด | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
ทหารโซเวียตโบกธงแดงเหนือจตุรัสกลางเมืองสตาลินกราด ค.ศ. 1943 | |||||||
| |||||||
คู่ขัดแย้ง | |||||||
สหภาพโซเวียต | |||||||
ผู้บังคับบัญชา | |||||||
กำลัง | |||||||
กองทัพกลุ่มบี
| แนวรบสตาลินกราด
แนวรบดอน
แนวรบตะวันตกเฉียงใต้ | ||||||
กำลังพลสูญเสีย | |||||||
|
|
|
ยุทธการสตาลินกราด เป็นยุทธการใหญ่ของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนาซีเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง สู้รบกับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อแย่งชิงการควบคุมนครสตาลินกราด (ปัจจุบันคือ โวลโกกราด ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ยุทธการดำเนินไประหว่างวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ถึง 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943[5][6][7][8] ยุทธการสตาลินกราดเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดบนแนวรบด้านตะวันออก และได้รับความสนใจเพราะความป่าเถื่อนและไม่สนใจต่อความสูญเสียทั้งทางทหารและพลเรือน นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในยุทธการนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์การสงคราม โดยมีการประเมินความสูญเสียทั้งสองฝ่ายรวมกันขั้นสูงไว้เกือบสองล้านนาย ความสูญเสียอย่างหนักที่กองทัพเยอรมนีประสบนับเป็นจุดพลิกผันของสงคราม[9] หลังยุทธการสตาลินกราด กำลังเยอรมันไม่อาจฟื้นคืนยอดอย่างเมื่อก่อนได้อีก และไม่บรรลุชัยชนะทางยุทธศาสตร์ในทางตะวันออกอีกเลย[10]
เยอรมนีรุกเพื่อยึดสตาลินกราดเริ่มตั้งแต่ปลายฤดูร้อน ค.ศ. 1942 และได้รับการสนับสนุนจากการทิ้งระเบิดโดยกองทัพอากาศอย่างเข้มข้น ซึ่งทำให้พื้นที่ขนาดใหญ่ของนครกลายเป็นซากปรักหักพัง ท้ายที่สุด การรุกของเยอรมนีกลายมาติดหล่มการสู้รบอาคารต่ออาคาร และแม้จะควบคุมพื้นที่ของนครได้กว่า 90% ในบางครั้ง กองทัพเยอรมันกลับไม่สามารถขับไล่ผู้ป้องกันฝ่ายโซเวียตกลุ่มสุดท้ายที่ยึดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโวลกาอย่างเหนียวแน่น
วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 กองทัพแดงเปิดฉากปฏิบัติการยูเรนัส การโจมตีสองง่ามโดยมีเป้าหมายต่อกำลังพลโรมาเนียและฮังการีที่อ่อนแอ ซึ่งกำลังป้องกันปีกของกองทัพที่ 6 หลังจากมีการสู้รบอย่างหนัก ความสำเร็จของการโจมตีเหล่านี้ส่งผลให้ปีกที่ยึดไว้อย่างหลวม ๆ พังลง และกองทัพที่ 6 ถูกตัดขาดและล้อมในสตาลินกราด เมื่อฤดูหนาวของรัสเซียมาถึง กองทัพที่ 6 ก็อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วจากความหนาว การขาดอาหารและการโจมตีอย่างต่อเนื่องของโซเวียต ความกำกวมของการบังคับบัญชา ประกอบกับความเชื่อแน่แน่วใน "พลังแห่งการตั้งเจตนา" (power of the will) ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และค่านิยม "การยืนหยัด" (standing fast) ยิ่งเสริมฐานะยากลำบากของเยอรมนีขึ้นไปอีก ท้ายที่สุด ความล้มเหลวของกำลังเยอรมนีนอกวงล้อมในการเปิดวงล้อม ร่วมกับความล้มเหลวในการส่งกำลังบำรุงทางอากาศ ทำให้เกิดการพังทลายขั้นสุดท้าย เมื่อถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 การต้านทานของฝ่ายอักษะในสตาลินกราดยุติลงและส่วนที่เหลือของกองทัพที 6 ได้ยอมจำนนหรือไม่ก็ถูกทำลายไปก่อนหน้านั้นแล้ว[11]:p.932
แสดงความคิดเห็น